วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เทคนิคการเลี้ยงปลาสวยงาม

การเลือกปลาที่จะเลี้ยง
      เมื่อได้เตรียมการขั้นตอนต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว ก็ถึงตอนจัดหาปลาที่จะเลี้ยงมาลงตู้ปลา เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนค่อยๆ เลือกไปและต้องใจเย็นเพราะผลที่จะเกิดเป็นความเพลิดเพลินเจริญตาเจริญใจยิ่ง นัก สำหรับนักเลี้ยงปลาตู้ เพราะถ้าขาดความรอบคอบไม่ระมัดระวังก็อาจจะได้ปลาที่อ่อนแอขี้โรค หรือบางที่ปลาอาจจะต้องเดินทางไกลกว่าจะถึงมือผู้เลี้ยง อาจทำให้เกิดความเครียดอ่อนเพลียและอาจกลายเป็นปลาขี้โรคได้เหมือนกันฉะนั้น การจัดหาปลามาเลี้ยงมีสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
      1. ขนาดของปลา เมื่อปลาโตเต็มที่ ปลาส่วนใหญ่ที่อยู่ในตู้ของผู้ขายเป็นปลาวัยรุ่นเมื่อนำมาเลี้ยงในตู้ปลาของ เราเวลาปลาโตเต็มที่อาจมีขนาดยาวถึง 5 นิ้วฟุต หรือบางชนิดเมื่อโตเต็มที่อาจมีขนาดยาวเพียง 1-5 นิ้วฟุต ถ้านำปลามาเลี้ยงรวมกัน ปลาใหญ่ก็จะรักแกปลาเล็ก เพราะฉะนั้นเวลาซื้อปลาควรถามเจ้าของให้รู้แน่เสียก่อนว่าปลามีขนาดเท่าใด ขณะโตเต็มที่และไม่ควรเลี้ยงปลาที่ขนาดต่างกันมาไว้ในตู้เดียวกัน ปลาที่อยู่ในตู้เดียวกันจะต้องเป็นปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันเมื่อโตเต็มที่
      2. ประเภทของปลา ควรระวังในการซื้อปลา เพราะหากผู้เลี้ยงไม่มีความรู้เกี่ยวกับประเภทของปลา อาจซื้อปลาที่ออกหากินเวลากลางคืน ในเวลากลางวันมันจะหมกซ่อนตัวอยู่ตามต้นพืชและลังก้อนหินตลอดเวลา แทนที่จะได้ชมเล่นในเวลากลางวันกลับไม่ได้เห็นปลาเลย
ประเภทของปลาตู้

      ปลาที่เลี้ยงกันตามตู้เลี้ยงปลาทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี
           1. ปลาที่ชอบรวมกลุ่มกันอยู่ ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาเทวดา ปลาหางดาบ ปลาม้าลาย เป็นต้น เมื่อซื้อปลาประเภทนี้ จึงไม่ควรซื้อ 1-2 ตัว แต่ควรซื้อมาเลี้ยงอย่างน้อย 5-6 ตัว
          2. ปลาที่ชอบอยู่ตามโขดหิน ได้แก่ ปลาจำพวกซิลลิค ส่วนมากจะเป็นปลาพื้นเมืองแอฟริกา ชอบอยู่ตามโขดหินในน้ำที่มีน้ำกระด้าง จึงไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงในตู้ปลาเท่าใดนัก
          3. ปลาที่ต้องแยกพวกเลี้ยง ปลาพวกนี้ต้องการตู้เลี้ยงพิเศษ เพราะส่วนมากไม่ชอบรวมกลุ่ม ได้แก่ ปลาปอมปาดัวร์ลายน้ำเงิน ปลาออสการ์ ปลาหางพิณ และปลาลายตลก เป็นต้น บางชนิดก็เป็นปลาที่ชอบเก็บตัวในเวลากลางวัน ถ้าจะเลี้ยงปลาประเภทนี้ต้องแยกพวกเลี้ยงในตู้ปลาต่างหาก อย่าเลี้ยงรวมกับปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม

วิธีสังเกตปลาที่สมบูรณ์ดี
     ปลาน้ำจืดส่วนใหญ่ถ้าสมบูรณ์ดีไม่มีโรค จะมีครีบหลังตั้งเสมอขณะว่ายน้ำ ถ้าปลาตัวใดว่างน้ำโดยมีครีบหลังตกแสดงว่าปลากำลังเป็นโรค และปลาที่สมบูรณ์ดีควรจะมีตัวอิ่มเต็ม ครีบหลังไม่แตก สีควรเข้ม ถ้าเป็นปลาที่มีลายสีหรือแต้มลายสี แต้มควรจะเด่น ไม่มีลายและแต้มที่พร่ามัว เวลาว่ายน้ำควรจะคล่องแคล่วปราดเปรียว นอกจากนี้ ควรจะสามารถลอยน้ำในน้ำลึกได้ทุกระดับโดยปราศจากอาการทะลึ่งขึ้นสู่พื้นน้ำ หรือจมดิ่งลงสู่กันอ่างในลักษณะที่ไม่ขยับตัว
      ปลาที่มีลักษณะบกพร่อง รวมทั้งปลาที่มีครีบหางขาด และมีจุดที่แสดงว่าเป็นแผล ไม่ใช้ปลาที่สมบูรณ์ดี

การเคลื่อนย้ายตัวปลาและปล่อยปลาลงตู้
      ตามปกติการเคลื่อนย้ายปลาจากที่ซื้อไปถึงบ้าน จะนิยมใส่ถุงพลาสติกและจะต้องทำโป่งบรรจุอากาศเหนือพื้นน้ำพอสมควร ถ้าซื้อปลาในฤดูหนาวกว่าที่ปลาจะถึงบ้านน้ำในถุงอาจจะเย็นลง ดังนั้นจึงควรนำกระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มถุงไว้อีก เพื่อป้องกันมิให้อากาศเย็นภายนอกกระทบถุงพลาสติกและทำให้น้ำเย็นลงโดยเร็ว ได้ หรือถ้าจะให้ดีควรเอาถุงไว้ในกล่องกระดาษแข็งที่อากาศเข้าไม่ได้ ก็จะช่วยให้ปลาที่เราเคลื่อนย้ายไม่กระทบกระเทือนความเย็นได้
      เมื่อนำปลาที่ต้องการไปถึงบ้านแล้ว อย่ารีบปล่อยปลาลงตู้ทันที เพราะน้ำในถุงกับน้ำในตู้เลี้ยงปลาอาจมีอุณหภูมิต่างกัน ดังนั้น การปล่อยปลาลงตู้จะต้องแน่ใจว่าน้ำในถุงกับน้ำในตู้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกัน โดยการเอาถุงปลาลอยแช่น้ำไว้ในตู้ปลาสักครู่ เมื่ออุณหภูมิของน้ำได้ระดับเดียวกันแล้วจึงปล่อยปลาออกจากถุงพลาสติกได้
      ขณะปล่อยปลาลงตู้ปลา ให้ค่อย ๆ ทำด้วยอาการสงบที่สุด เพื่อมิให้ปลาตื่นและถ้าตู้ปลามีหลอดไฟฟ้าก็ควรจะปิดไฟเสียก่อน เหลือไว้เฉพาะแสงสว่างของธรรมชาติเท่านั้น เพื่อปลาจะได้คุ้นกับสภาวะแวดล้อมใหม่ได้ง่ายถ้าตู้ปลาสว่างมากเกินไปปลาอาจ จะตกใจ และเมื่อปลาคุ้นกับสภาพแวดล้อมดีแล้วจึงค่อยเปิดไฟ
      การนำปลามาปล่อยในตู้ปลาขณะที่มีปลาอื่นอยู่แล้ว เราควรให้อาหารเพื่อล่อปลาที่อยู่ก่อนไม่ให้ไปสนใจกับปลาใหม่มากนัก ไม่เช่นนั้นปลาใหม่อาจจะตื่นและว่ายหนีไปหาที่ซุกซ่อนตัว ซึ่งเราจะต้องจัดที่กำบังหลบซ่อนไว้ให้ด้วย จนเมื่อปลาใหม่คุ้นกับสภาพแวดล้อมในตู้ปลาดีพอก็จะเริ่มออกมาหาอาหารเองได้

รูปลักษณะอวัยวะปลา
      ในการเลือกหาปลาเพื่อเลี้ยงนั้นควรจะมีความรู้ในรูปลักษณะของปลาพอสมควรซึ่ง จะเป็นการช่วยให้การเลือกปลาได้ดียิ่งขึ้นปลาแต่ละชนิดไม่ได้มีรูปลักษณะ เพรียวยาวเหมือนกันทุกตัว บางชนิดก็มีลำตัวป้อม สั้น บางชนิดตัวแบน บางชนิดตัวกลม ทั้งนี้ สุดแต่นิสัยความเป็นอยู่และการเลี้ยงชีพของปลาแต่ละชนิด ปลาที่มีลำตัวเพรียวยาว แสดงว่าปลาชนิดนั้นว่ายน้ำเร็ว ปลาพวกนี้จะมีครีบใหญ่ มีปากและฟันซี่โต เป็นปลาที่ชอบหากินในที่โล่ง ส่วนปลาเทวดามีลำตัวแบนรู้สี่เหลี่ยมว่ายน้ำได้อย่างเชื่องช้า ชอบอาศัยอยู่ตามกอหญ้าใต้น้ำ ลักษณะของปลามักจะบอกถึงระดับของน้ำที่ปลาอยู่โดยทั่ว ๆ ไป เช่น
      ปลาที่มีปากแบน แสดงว่าปลาชนิดนั้นอาศัยอยู่ใต้พื้นน้ำเพียงเล็กน้อยเพราะต้องลอยตัวคอยกิน แมลงตามผิวน้ำ ปลาจำพวกนี้ตามปกติมีครีบหลังตรงพื้นครีบไม่โก่งงอ
      ปลาที่มีปากยื่นตรง ตามทางนอนในแนวเดียวกันกับกึ่งกลางตัวจะเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในระดับน้ำกลาง ๆ เพราะปลาพวกนี้จะงับกินแต่อาหาร ที่ตกถึงพื้นเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่ามันอาจจะขึ้นกินอาหาร หรือดำลงกินที่ก้นน้ำได้ก็ดี
      ปลาที่มีปากห้อย เป็นปลาที่ชอบอยู่กับก้นน้ำ เพาะกินอาหารตามพื้นผิวดินใต้น้ำเป็นหลัก ปลาจำพวกนี้ชอบกินตะไคร่น้ำตามพื้นดิน และที่อยู่ในตู้ปลา มันอาจไม่ลงถึงก้นตู้ แต่ชอบแอบตามข้างตู้เพื่อกินตะไคร่น้ำที่ติดตามข้างตู้กินเป็นอาหาร ปลาประเภทนี้มักมีหนวดด้วย เพราะหนวดจะไประโยชน์ในการเสาะหาอาหาร
เกล็ดปลา
      เกล็ดปลามีทั้งชนิดแข็งและอ่อนซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายแก่ตัว ปลาแล้ว ยังทำหน้าทั่วเป็นเครื่องรับแรงดันของอากาศด้วย เพราะฉะนั้นถ้าปลามีรอยถลอก หรือเป็นแผลก็แสดงว่าแรงดันของอากาศภายในผิดปกติปลาจึงเป็นโรค
ครีบ
      ปลาใช้ครีบเพื่อการทรงตัว และเคลื่อนไหวในบางกรณีก็จะใช้เป็นเครื่องช่วยในการออกไข่ด้วย ซึ่งอาจเป็นตอนผสมพันธุ์ หรือตอนฟักไข่เป็นตัว
สีสันของปลา
      สีสันของปลานอกจากสร้างความสวยงามแล้ว ยังบอกลักษณะเฉพาะของชนิดโดยทั่วไป บอกเพศโดยเฉพาะ และเป็นสีที่อาจลวงตาศัตรูให้พร่าพราว ช่วยให้มันหนีได้โดยสะดวก หรืออาจทำให้ศัตรูเกิดสำคัญผิดในเป้าหมายที่จะโจมตีก็ได้ หรือสำคัญว่าเป็นสิ่งมีพิษก็ได้ นอกจากนี้ สีอาจบอกอารมณ์ของปลาในเวลาตกใจ หรือเวลาโกรธอีกด้วย
      สีบอกเพศ ความเข้มของสีปลามักจะมีมากขึ้นในปลาตัวผู้ในระยะผสมพันธุ์ ทั้งนี้เพื่อให้สะดุดตาตัวเมียและล่อตัวเมียให้เข้าหา หรือเป็นสัญญาณให้ตัวเมียยอมคลอเคลียด้วย
      เราอาจรู้เพศของปลาที่ออกลูกเป็นตัวได้ โดยดูที่ครีบทวาร ซึ่งครีบตัวผู้จะมีรูปย้วยกว่าครีบตัวเมีย ส่วนปลาที่ออกลูกเป็นไข่ ตัวผู้จะมีตัวเรียวกว่า

อาหารปลา
      เรารู้กันมาว่า ลูกน้ำ ไรน้ำ และแมลงบางชนิดเป็นอาหารของปลาทั่วไปแต่ปลาต่างชนิด ต่างก็ชอบอาหารผิดกันไป บางชนิดชอบกินลูกน้ำ บางชนิดชอบกินพืชพวกตะไคร่น้ำ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าปลาชนิดไหนชอบกิจอาหารจำพวกไหน ปัจจุบันนี้ปัญหาการให้อาหารปลาไม่มีแล้ว เพราะได้มีการทำอาหารปลาขายกันในท้องตลาดอย่างกว้างขวางในรูปลักษณะต่าง ๆ กันไม่ว่าจะเป็นอาหารสำหรับปลาที่ชอบกินสัตว์หรือกินพืช ซึ่งอาหารสำเร็จรูปที่ทำกันขึ้นมาจำหน่ายนั้น จะเป็นรูปลักษณะที่เป็นเกล็ดบ้าง เป็นเม็ดบ้าง เป็นน้ำบ้าง เป็นผงบ้า ตลอดจนเป็นก้อนก็มี อาหารเหล่านี้ทำขึ้น เพื่อให้เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงปลาทุกขนาดตั้งแต่ตัวอ่อน ซึ่งจำเป็นต้องกิจอาหารขนาดใหญ่ ๆ ได้อย่างสบาย แม้ว่าอาหารที่ผลิตออกจำหน่าย จะเป็นชนิดดีมีคุณค่า ควรแก่การเลี้ยงปลาก็ดี แต่การเลี้ยงปลาชนิดเดียว จำเจ ก็อาจทำให้ปลาเบื่ออาหารชนิดนั้น อันตรายที่สำคัญก็คือการให้อาหารเกินขนาด ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะทำให้ปลาอ้วนเหมือนคนที่กินจุ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า การให้อาหารจำเจก็ดี การให้อาหารเกินขนาดก็ดี จะทำให้อาหารเหลือตกค้างแล้วทำให้น้ำเน่าเสีย
      หลักสำคัญก็คือ การให้อาหารแต่พอกินโดยให้ทีละน้อย เพื่อให้ปลากินอาหารให้หมดทันทีอย่าให้เหลือ และควรให้อาหารปลาในตอนเช้า - กลางวัน - เย็น และกลางคืนตามลักษณะนิสัยของปลาแต่ละชนิด

อาหารปลาตู้
การ ให้อาหารปลาที่เลี้ยงในตู้กระจกเป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับผู้เลี้ยงปลาตู้ที่ จะต้องให้ความสำคัญและสนใจ ซึ่งเราจะแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
       1. กลุ่มอาหารเป็น ได้แก่ สัตว์เล็กๆ ที่มีชีวิต และใช้เป็นอาหารได้ เช่น
          ไรแดง เป็นสัตว์น้ำขนาดเล็กมีสีแดงพบมากในน้ำครำหรือคูน้ำโดยใช้สวิงตาถี่ ช้อนตามผิวน้ำในตอนเช้า และมีจำหน่ายตามร้านขายปลาตู้เป็นอาหารที่เหมาะกับปลาสวยงามขนาดเล็ก
          ลูกน้ำ เป็นตัวอ่อนของยุง พบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำขังต่างๆ จับได้โดยใช้สวิงตาถี่ช้อนตักตามผิวน้ำ ซึ่งลูกน้ำลอยตัวอยู่
          หนอนแดง เป็นตัวอ่อนของริ้นน้ำจืด มีสีแดง พบได้ทั่วไปตามพื้นที่ที่มีน้ำขังเป็นเวลานาน การจับต้องตักดินใส่ตะแกรงตาถี่และร่อนในน้ำสะอาดจนเศษดิน ผง หรือขยะหลุดออก ก็จะเห็นหนอนแดงค้างอยู่ ร้านขายปลาตู้มักจะนำมาขายโดยใส่ไว้ภาชนะที่มีน้ำใส
          กุ้งฝอย เป็นกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก พบอยู่ตามบ่อ สระน้ำ หรือตามท้องนา มีจำหน่ายตามท้องตลาดสด เป็นอาหารที่เหมาะกับปลาตู้ขนาดใหญ่ที่เป็นปลาประเภทกินเนื้อสัตว์
          ไส้เดือนดิน เป็นอาหารที่เหมาะกับปลาตู้ชนิดหนึ่ง ถ้าเป็นไส้เดือนขนาดใหญ่ ก่อนให้ปลาควรสับให้เป็นชิ้นที่มีขนาดพอเหมาะก่อนจึงใช้เป็นอาหารปลา
           ตัวอ่อนหรือดักแด้ ของแมลงอีกหลายชนิด ก็สามารถนำมาใช้เป็นอาหารปลาตู้ได้
      2. กลุ่มอาหารแห้ง เป็นอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นมาด้วยกรรมวิธีต่างๆ โดยใช้วัสดุต่างๆ จากผลิตผลทางการเกษตรหลายๆ ชนิดและทำให้เป็นอาหารที่มีคุณค่าตรงกับความต้องการของปลาที่มีรูปแบบต่างๆ กัน เช่น
           ชนิดเม็ดจม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะค่อนข้างกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเม็ดแตกต่างกันไปตามชนิดและขนาดปลา แต่ว่าจะจมน้ำเหมาะสำหรับปลาตู้ที่หากินตามพื้นผิวดิน อาหารชนิดเม็ดจนได้มีการพัฒนา จนมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถยึดติดหรือแตะไว้ข้างฝาตู้เป็นเวลานานและปลาจะมารุมกินหรือตอดกิน อาหารประเภทนี้เป็นฝูงๆ
           ชนิดเม็ดลอย เป็นผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกับเม็ดจมน้ำ แต่มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถลอยน้ำได้ และคงสภาพรูปเดิมอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เป็นอาหารสำหรับปลารุ่น หรือปลาใหญ่
           ชนิดผง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผงเล็กๆ มีขนาดไล่เลี่ยกับขนาดของนมผง ละลายน้ำได้ดี ส่วนใหญ่ทำจากสาหร่ายเกลียวทองหรือจากไข่เวลาใช้ก็โดยการนำเอาอาหารผงมา ละลายน้ำและใส่ลงตู้ให้ลูกปลากิน เป็นอาหารที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับลูกปลาวัยอ่อนโดยเฉพาะ ชนิดแผ่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่วนใหญ่ทำขึ้นจากไข่ หรือตัวของสัตว์ในตระกูลกุ้ง มีลักษณะเป็นแผ่นเล็กๆ ใช้มือบี้หรือขยี้อาหารชนิดนี้ให้เป็นชิ้นเล็กก่อนนำไปให้เป็นอาหารปลาตู้
        3. กลุ่มผักสด หมายถึง พรรณไม้น้ำหรือผักบางชนิดที่จะใช้เป็นอาหารให้ปลาตู้ได้ ซึ่งโดยปกติแล้ว ปลาตู้ซึ่งเป็นปลากินเนื้อและพืชชอบกินพวกผักและปลาบางชนิดก็ต้องการอาหาร ที่มีผักสดผสมอยู่เป็นประจำ พวกพืชสดที่นิยมใช้ ได้แก่ ถั่วงอก ถั่วหัวโต ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ผักกาดขาด ผักบุ้ง แหนเป็ด

การให้อาหารปลาตู้
      ปลาตู้ก็เหมือนสัตว์อื่นๆ ที่ต้องการอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและการเจริญพันธุ์ การให้อาหารที่ดีและถูกวิธีจะบรรลุถึงความต้องการของผู้เลี้ยงซึ่งก็คือปลา มีสุขภาพดี แข็งแรง สีสดใส ทำให้ผู้เลี้ยงมีความสุข ก่อนอื่นเราจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าปลาที่เลี้ยงเป็นปลาชนิดอะไร ประเภทไหนเพราะเราสามารถแบ่งปลาออกเป็น 3 ประเภท คือ ปลากินเนื้อ ปลากินเนื้อและพืช และปลากินพืช ซึ่งทั้ง 3 ประเภทนี้จะมีความต้องการอาหารแตกต่างกันไป ดังนี้
         1. ปลากินเนื้อ เป็นปลาที่ชอบกินอาหารเป็น ถ้าเราเลี้ยงโดยอาหารอื่นๆ มักจะหงอยซึม มีสุขภาพไม่ดี และอาจตายในที่สุด อาหารที่ให้แต่ละครั้งจึงควรให้อาหารเป็นและมีจำนวนมากพอที่จะกินอิ่มใน ครั้งเดียว ให้อาหารเพียงครั้งเดียวใน 1 วัน และงดอาหาร 1 วัน เมื่อเลี้ยงไปได้ 3-4 วัน
        2. ปลากินเนื้อและพืช เป็นปลาที่ยอมรับอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแห้งได้ดี ให้อาหารวันละ 1-2 ครั้ง แต่ควรเสริมด้วยอาหารผักสดบ้างเป็นครั้งคราว ประมาณเดือนละ 2 ครั้ง จะทำให้ปลามีสุขภาพดี
        3. ปลากินพืช เป็นปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปได้ดี และอาหารนั้นควรมีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากพืช การให้อาหารควรให้วันละ 1-2 ครั้ง โดยฝึกให้ปลากินอาหารซ้ำที่เดิมทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้ปลาเคยชินโดยเฉพาะปลาที่กินอาหารช้าจะสามารถเรียนรู้ตำแหน่ง อาหารที่กินได้ การให้อาหารแห้งหรืออาหารผักสดนั้น ผู้เลี้ยงจะต้องพึงระลึกได้เสมอว่าอาหารที่ให้เหล่านี้หากปลากินไม่หมดจะ เหลือตกค้างอยู่ในตู้ และเน่าเสีย เป็นเหตุให้คุณสมบัติของน้ำในตู้ไม่ดี ส่งผลต่อสุขภาพของปลาเป็นอย่างยิ่ง จึงควรระมัดระวังอย่าให้อาหารมากเกินไป

โรคปลาตู้และวิธีการป้องกันรักษา
       โรคปลาตู้เกิดขึ้นได้ด้วยสาเหตุหลายประกาน เช่น เกิดจากเชื้อโรค พวกปรสิต บัคเตรีและเชื้อรา สภาพแวดล้อมในตู้ปลาที่ไม่เหมาะสม เช่น มีออกซิเจนในน้ำน้อยไป อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือให้อาหารมากจนหรือทำให้น้ำเน่าเสียหรือไม่ก็ไม่ยอมเปลี่ยนถ่ายน้ำ เมื่อปลาขับถ่ายของเสียออกมามาก ทำให้น้ำมีแอมโมเนียสูง สาเหตุต่างๆ เหล่านี้หากไม่รุนแรงนักจะไม่ทำให้ปลาตายโดยตรงแต่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลา เครียดทำให้ปลาอ่อนแอไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร และยังมีภูมิต่างทานโรคลดน้อยลงทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เท่าที่พบในปัจจุบัน คือ
        1. โรคจุดขาว เป็นโรคที่เกิดขึ้นเป็นประจำกับปลาตู้ และระบาดได้รวดเร็วมาก การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนเข้มข้นผสมกับมาลาไคท์กรีน แช่ติดต่อกัน 3-5 วัน จึงเปลี่ยนน้ำในตู้ปลา
        2. โรคสนิม ถ้าส่องกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเหมือนมีฟองสบู่อยู่มากกมายมักเกาะอยู่ตาม บริเวณเหงือกและผิดหนัง ถ้ามีมากจะเหมือนกำมะหยี่สีเหลืองปนน้ำตาล กระจายเป็นหย่อมๆ เป็นอันตรายมากกับลูกปลาขนาดเล็ก ปัจจุบันพบมากในปลาตาแดงและปลาทรงเครื่อง
        การป้องกันรักษา ควรใช้เกลือแกงเข้มข้น 1 % แช่ปลาไว้นาน 24 ชั่วโมง และทำช้ำทุก 2 วัน จนกว่าโรคจะหาย
       3. โรคเห็บระฆัง มักจะพบตามบริเวณลำตัว ครีบ และเหงือก โดยจะทำให้เกิดเป็นแผล มีเมือกมาก ผิวหนังเกิดเป็นหวงขาวๆ เกล็ดหลุด ครีบขาดกร่อน เหงือกถูกทำลาย มีอันตรายต่อปลามาก ถ้าเป็นปลาขนาดเล็ก อาจทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาสั้น การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนเข้มข้น แช่นานตลอดไปจนกว่าปลาจะหาย
      4. โรคที่เกิดจากปลิงตัวใส มีขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตร ส่วนหัวเป็นแฉก ส่วนท้ายจะเป็นอวัยวะยึดเกาะมีหนามเล็กรอบๆ เมื่อเกาะที่ตัวปลาบริเวณใด ผิวหนังของปลาบริเวณนั้นจะเกิดเป็นแผล ถ้าเกาะมากๆ เข้าก็อาจทำให้ปลาตายได้ โดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลีนเข้มข้น แช่ไปตลอดจนกว่าปลิงตัวใสจะตายหมด
       5. โรคที่เกิดจากหนอนสมอ หนอน สมอมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกขนาด 1-4 มิลลิเมตร ส่วน หัวคล้ายสมอทำหน้าที่ยึดเกาะตัวปลา ทำให้บริเวณที่เกาะเกิดเป็นแผลที่อาการตกเลือด เนื่องจากหนอนสมอมีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงสามารถจับหนอนสมอออกได้ แต่ส่วนหัวจะขาดฝังอยู่ใต้ผิดหนังของปลา การป้องกันรักษา ใช้ Dipterex เข้มข้น แช่นาน 24 ชั่วโมง เว้น 5-6 วัน ให้แช่น้ำยาดังกล่าวซ้ำอีก 3-4 ครั้ง
      6. โรคที่เกิดจากเห็บปลา เห็บปลามีขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ลำตัวแบนกลม ด้านหลังโค้งมนแบ่งเป็นปล้องเชื่อมติดต่อกัน ปากทำหน้าที่ดูดเกาะ มักพบกับปลามีเกล็ด ไม่เกาะอยู่กับที่แต่จะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ หรือออกจากปลาตัวหนึ่งไปเกาะปลาอีกตัวหนึ่ง การป้องกันรักษา ใช้ Dipterex เข้มข้น แช่นาน 24 ชั่วโมง
      7. โรคที่เกิดจากบัคเตรี ปลาจะมีลักษณะตกเลือดบริเวณผิดหนังและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต หรือผิวหนังจะเป็นรอยด่างและเริ่มเป็นขุยยุ่ยเหงือกเน่า การป้องกันรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิกาตราไซคลิน หรือคลอแรมพินิคัล ผสมลงในน้ำตู้ปลา หรือใช้เกลือแกงผสมลงในน้ำก็ได้ โดยประมาณ
      8. โรคที่เกิดจากไวรัส ปลาจะเกิดเป็นตุ่มนูนของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทั้งบนลำตัวและครีบ พบมากกับปลาน้ำกร่อย โรคนี้ไม่ต้องรักษาก็สามารถหายเองได้ถ้าสภาพแวดล้อมภายในตู้ปลาดีขึ้น เช่น เปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำ หรือมีแสงเข้าถึงเป็นเวลา เป็นต้น
      9. โรคเนื้องอกในปลา พบมากในปลาทอง และปลาไน ลักษณะอาการมักเห็นเป็นกลุ่มเซลล์เจริญขึ้นมาเป็นปุ่มปมขนาดใหญ่ ตามบริเวณลำตัวหรือเกิดภายในช่องท้อง ตุ่มนี้มักจะนิ่ม สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรม สารมลพิษจะไปกระตุ้นทำให้เชลล์เกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ ยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผลเคยมีการทดลองตัดตุ่มที่เกิดขึ้นตามบริเวณผิดหนัง ออก แต่ปรากฏว่าต่อมาก็จะเจริญขึ้นมาใหม่ และจำนวนปุ่มปมจะเพิ่มจำนวนขึ้นมากอย่างรวดเร็ว

การดูแลรักษาตู้ปลา
      การเลี้ยงปลาตู้ เพื่อให้คงความสวยงามอยู่ตลอดไปนั้น ควรจะต้องเอาใจใส่ดูแลรักษาอุปกรณ์พันธุ์ไม้น้ำและส่วนประกอบอื่น ๆ ที่มีอยู่ภายในตู้ปลาเพื่อมิให้เกิดความสกปรก หลักสำคัญในการดูแลรักษาที่ถูกต้อง มีดังนี้
      ควรหมั่นตรวจเช็คดูรอยรั่วซึม บริเวณรอยต่อกระจกไม่ว่าจะเป็นตู้ปลาแบบเก่า หรือแบบใหม่ เพราะมักพบว่ามีรอยรั่วซึมของน้ำอยู่เสมอ สาเหตุเกิดจากชันหรือกาวซิลิโคนเสื่อมคุณภาพ หรือบริเวณที่ติดตั้งตู้ปลาได้รับแสงแดดและความร้อนจัด หรือเกิดจากการกระทบกระแทกกับวัตถุอื่น ๆ จึงควรระมัดระวัง แต่ถ้าตู้ปลาเกิดการรั่วซึมต้องปล่อยน้ำทิ้งให้หมด เช็ดทำความสะอาดแล้วผึ่งลมให้แห้งสนิท จากนั้นก็นำมาซ่อมแซมโดยการใช้ชัน หรือกาวซิลิโคนทารอยรั่วให้เรียบร้อย ปล่อยทิ้งไว้นานพอประมาณ จนมั่นใจว่าติดสนิทดีแล้วจึงใส่น้ำลงตู้ปลา สังเกตรอยรั่วซึมของน้ำอีกครั้ง ถ้าไม่มีรอยรั่วซึมแล้วจึงเริ่มจัดตู้ปลาพร้อมปล่อยปลาลงได้

การดูแลรักษาเครื่องกรองน้ำ
      เมื่อใช้เครื่องกรองน้ำไปได้ระยะหนึ่ง ประสิทธิภาพการกรองสิ่งสกปรกต่าง ๆ ก็จะลดลง ไม่สามารถแยกสิ่งสกปรกภายในตู้ปลาได้ดีเท่าที่ควรอันเป็นเหตุให้สภาพของน้ำ ไม่สะอาดพอ จึงจำเป็นต้องคอยดูแลรักษาความสะอาดของตู้ปลา ให้ดีอยู่เสมอ ดังนี้
        - ควรใช้สายยางดูดเอาสิ่งสกปรกต่าง ๆ ภายในตู้ปลาอยู่เสมอ
        - ควรเลี้ยงปลาจำพวก catfish หรือปลาเทศบาล ช่วยเก็บเศษอาหารอีกด้านหนึ่ง
        - ทำความสะอาดระบบกรองน้ำใต้ทราย เช่น แผ่นกรอง หลอดพ่นน้ำ และตรวจเช็คอุปกรณ์บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นกรองน้ำอยู่เสมอ

การดูแลรักษาโลหะที่สัมผัสกับน้ำ
     โลหะที่ติดมากับตู้ปลาทุกส่วนที่สัมผัสกับน้ำภายในตู้ปลานั้น บางชนิดก่อให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิต เช่น โลหะจำพวกทองเหลืองชุบโครเมียม ตะกั่ว ดีบุก และเหล็ก ถ้าจะให้ดีควรเลือกใช้โลหะประกอบตู้ปลาที่หุ้มพลาสติกจะปลอดภัยที่สุด หากพื้นที่ตู้ปลาเป็นแผ่นเหล็ก ผู้จัดตู้ปลาควรใช้กระจกปูทับก่อนแล้วใช้ชัน หรือกาวซิลิโคนอุดยาตามซอกมุมต่าง ๆ ให้แน่นมิให้น้ำรั่วซึมลงไปได้ จะช่วยให้ปลอดภัยแก่สิ่งมีชีวิตดียิ่งขึ้นและง่ายต่อการทำความสะอาด

การดูแลรักษาพันธุ์ไม้น้ำ
     ที่จำเป็นต้องคำนึงถึง คือ
      1. แสง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะพันธุ์ไม้น้ำมาก เพราะแสงเป็นตัวช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อแสงสว่างผ่านน้ำลงไป แสงจะเกิดการหักเห พืชใต้น้ำจะได้รับแสงสว่างผิดจากความเป็นจริง พืชที่อยู่ในน้ำระดับต่าง ๆ ก็จะได้รับปริมาณแสงสว่างที่แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นการจัดตู้ปลา จึงควรคำนึงถึงทิศทางและความต้องการแสงของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดด้วย
      2. อุณหภูมิภายในตู้ปลา จะมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่ไม่มากนักและค่อนข้างคงที่ ดังนั้นพันธุ์ไม้น้ำจึงไม่ค่อยมีผลกระทบมากนัก
      3. แก๊ส ปริมาณ แก๊สที่สำคัญที่สุดกับพันธุ์ไม้น้ำ คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (co2) ซึ่งพืชทุกชนิดจำเป็นต้องใช้ในการสังเคราะห์แสง ในขณะเดียวกันพันธุ์ไม้น้ำก็คายออกซิเจน (O2) ออกมา ถ้าภายในตู้ปลามีทั้งพันธุ์ไม้น้ำ และสัตว์อยู่ด้วยกัน อัตราการคายออกซิเจนของพันธุ์ไม้น้ำ พอเหมาะกับอุตราการคายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของสัตว์ สภาพแวดล้อมภายในตู้ปลาก็จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่รวมกันได้อย่างสมดุล
      4. ความหนาแน่น หลังจากการตกแต่งพันธุ์ไม้น้ำเรียบร้อยแล้วเมื่อปลาได้รับอาหาร และแสงสว่างที่พอเหมาะ ก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความหนาแน่น ซึ่งสภาพอย่างนี้ อาจก่อให้เกิดการเสียความสมดุลระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันจำเป็นที่จะต้องตัด แต่ง หรือเคลือบย้ายพันธุ์ไม้น้ำที่เสียรูปทรง หรือหนาแน่นเกินไปออกจากตู้ปลา นำไปเพาะเลี้ยงบำรุงดูแลในที่แห่งใหม่ต่อไป

การเปลี่ยนน้ำ
     การเปลี่ยนน้ำมีความจำเป็น เพราะน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาและพันธุ์ไม้น้ำ แร่ธาตุบางชนิดจะถูกนำไปใช้ หรือแลกเปลี่ยนไปบ้าง โดยปลาหรือพันธุ์ไม้น้ำหรือของเสียที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงควรมีการตรวจเช็คเพื่อปรับสภาพน้ำตามสมควรทุก ๆ 1-2 เดือน อาจเปลี่ยนน้ำเมื่อปรากฏว่า ในตู้ปลามีตะไคร่น้ำหรือน้ำขุ่น
      ข้อควรระวัง
           การเปลี่ยนน้ำจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เกี่ยวกับค่าความด่างของน้ำในตู้ปลากับน้ำใหม่ที่เติมลงไป ว่ามีความเป็นกรดเป็นด่าง อุณหภูมิ และปริมาณสารบางตัวแตกต่างกันมากเกินไปหรือไม่ ถ้าเป็นน้ำประปาควรปรับความแตกต่างของสารคลอรีนให้ใกล้เคียงกันก่อนที่จะ เติมลงในตู้ปลา และอีกประการหนึ่ง ที่เก็บน้ำถ้าปิดด้วยภาชนะนาน ๆ ในกลางแจ้ง ออกซิเจนในน้ำอาจมีน้อยหรือไม่มีเลย เมื่อนำไปเลี้ยงปลาโดยไม่มีพันธุ์ไม้น้ำตกแต่งอยู่ด้วยปลาที่เลี้ยงไว้อาจ ตายได้
      
             


       


 
 
 

 

ปลาสวยงามหายากชนิดต่างๆ

 
ฝักพร้า ดาบลาว ท้องพลุ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macrocheilichthys macrocheilus

วงศ์ : Cyprinidae

วงศ์ย่อย : Oxygastrini

ขนาด : 20-60 ซ.ม.

ลักษณะ : ลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายขอ ลำตัวสีเงินวาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเว้าลึกและปลายมน โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ

อาหาร : ปลาขนาดเล็กและแมลง

พฤติกรรม : มักล่าเหยื่อใกล้ผิวน้ำ ว่ายน้ำได้เร็วมาก

ถิ่นอาศัย : แม่น้ำและแหล่งน้ำหลาก ปัจจุบันพบน้อย

สถานภาพ : ใกล้สูญพันธุ์
สะนากยักษ์ สะนากปากเบี้ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aaptosyax grypus
วงศ์ : Cyprinidae
วงศ์ย่อย : Oxygastrini
ขนาด : 60-100 ซ.ม.
ลักษณะ : มีปากกว้าง ขากรรไกรโค้งคล้ายกรรไกรตัดหมาก ตามีเยื่อไขมันคลุม ลำตัวทรงกระบอก มีเกล็ดเล็ก ลำตัวสีเงินวาวเหลือบเหลืองทอง ครีบสีส้มเรื่อ ๆ
อาหาร : ปลาที่อยู่ตามผิวน้ำ
พฤติกรรม : ผสมพันธุ์ในฤดูแล้ง ลูกปลาเลี้ยงตัวในลำธารแม่น้ำสาขา
ถิ่นอาศัย : เฉพาะในแม่น้ำโขงและสาขาที่เป็นแก่งหิน
สถานภาพ : ใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต
 
สะตือ ตองแหล่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chitala lopis
วงศ์ : Notopteridae
ความยาว : 50-150 ซ.ม.
ลักษณะ : คล้ายปลากราย แต่ท้ายทอยเว้าลึกและลำตัวมีเกล็ดละเอียดกว่า โคนครีบอกมีแต้มคล้ำ และข้างลำตัวมีจุดประสีคล้ำเล็กๆ
อาหาร : ปลา กุ้ง แมลงน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ
พฤติกรรม : ชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มีกิ่งไม้ใต้น้ำหรือพรรณพืชน้ำค่อนข้างหนาแน่น
ถิ่นอาศัย : ลำธารและแม่น้ำในป่า
หมากผาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tenualosa thibaudeaui
วงศ์ : Clupeidae
ขนาด : 20-25 ซ.ม.
ลักษณะ : คล้ายปลาซาร์ดีน แต่ลำตัวกว้างกว่า ปากกว้าง มีเยื่อคลุมตา เกล็ดใหญ่แต่หลุดร่วงง่าย ลำตัวสีเงิน ด้านข้างมีแต้มสีน้ำเงินอมม่วง
อาหาร : แพลงก์ตอนและอินทรีสาร
พฤติกรรม : มีการอพยพขึ้นลงในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาเพื่อวางไข่และหากิน
ถิ่นอาศัย : พบเฉพาะในลุ่มน้ำแม่โขง
สถานภาพ : ใกล้สูญพันธุ์
 
 
 
ซิวหัวตะกั่วสุโขทัย ท้องพลุ ซิวหัวตะกั่ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chela caeruleostigmata
วงศ์ : Cyprinidae
วงศ์ย่อย : Danioninae Danionini
ขนาด : 5-7 ซ.ม.
ลักษณะ : ลำตัวแบนข้างมาก ปากเล็ก ด้านบนหัวมีแต้มสีฟ้าเรืองแสงคล้ายของปลาหัวตะกั่ว ครีบอกยาว เกล็ดเล็กหลุดร่วงง่าย ลำตัวสีเงินวาว ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำ
อาหาร : แมลงขนาดเล็ก
พฤติกรรม : อยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ชอบว่ายน้ำอยู่ใกล้ผิวน้ำ กระโดดได้สูง
ถิ่นอาศัย : แม่น้ำสายหลักและสาขาที่มีพรรณไม้ชายฝั่ง
สถานภาพ : ใกล้สูญพันธุ์ จากการสูญเสียถิ่นอาศัย
 

5 อันดับ ปลาที่น่ากลัวที่สุดในโลก

 

                        ปลาที่น่ากลัวที่สุดในโลก อันดับที่1 Fanfin Seadevil
      ปลาปีศาจ ครีบพัด (Fanfin Seadevil) หรือ Caulophryne jordani เป็น ปลาน้ำลึก ในตระกูล Anglerfish ปลาปลาปีศาจ ครีบพัด ( Fanfin Seadevil ) มีสี่งที่แปลก และ โดดเด่นกว่า ปลาในตระกูล Anglerfish ทั่วไปคือ พวกมันไม่มีหงอนเรืองแสงบนหัว ที่ใช้สำหรับล่อเหยื่อในที่มืด และทั่วทั้งร่างมีครีบยาว คล้ายพัด เช่นเดียวกับปลาใน ตระกูล Anglerfish เพศผู้มีขนาดเล็กกว่ามากเพศเมีย เพศผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด เพียง 0.5 นิ้ว (1.27 เซ็นติเมตร) ส่วนเพศเมียจะมีขนาดใหญ่ได้ถึง 10 นิ้ว (25 เซ็นติเมตร ความยาวไม่รวมหนวด) การที่เพศผู้มีขนาดเล็ก และเพศเมีย มีขนาด ใหญ่นั้นเกิดจากอุปนิสัยที่ เมื่อตัวผู้พบ ตัวเมีย ตัวผู้จะเกาะติดตัวเมียด้วยปาก ทำตัว เหมือนกาฝาก โดยดูดเลือดของตัวเมียเป็นอาหาร และเมื่อนานวันตัวผู้จะศูนย์เสีย การมองเห็น และประสาทสัมผัสต่างไป และหลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตัวเมีย

               ปลาที่น่ากลัวที่สุดในโลก อันดับที่2 Lamprey
   ปลาแลมเพรย์เป็นปลาไหลชนิดหนึ่ง ลำตัวด้านหลังมักจะเป็นสีดำ มีครีบหลังและครีบหาง แต่ไม่มีครีบคู่ ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ค่อนลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะคล้าย แว่นใช้สำหรับดูด ปากกลมซึ่งไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ขึ้นมาบังคับขากรรไกรให้อ้าและ หุบแบบปัจจุบัน พวกมันต้องการเพียงปากที่มีตะขอสำหรับเกาะเหยื่อเพื่อดูดเลือดสัตว์อื่นเป็น อาหาร และดำรงชีพเป็นปรสิตเมื่อดูดเลือดของเหยื่อจน ตัวเหยื่อแห้งก็จะปล่อยแล้วหาเหยื่อใหม่
 
                ปลาที่น่ากลัวที่สุดในโลก อันดับที่3 Blob Fish
     ปลาบร็อบ ถูกพบในระดับความลึกที่มีแรงดันมากกว่าปกติ ถึง 12 เท่าทำให้ถุงลมขาดประสิทธิภาพ เพื่อที่ปลา สามารถลอยตัวได้ ( ที่รู้จักกันในชื่อ “กระเพาะปลา”
มีหน้าที่ เก็บกักอากาศ หรือปล่อยอากาศออกเพื่อประโยชน์ในการลอยตัว หรือดำน้ำ ) ปลาจึงมีเนื้อที่มีลักษณะเป็นวุ้น มีความหนาแน่น น้อยกว่าน้ำเล็กน้อย เพื่อให้สามารถ ลอยตัวเหนือพื้นทะเล โดยใช้พลังงานน้อยที่สุดในการลอยตัว และว่ายน้ำ จึงทำให้ ปลาบร็อบ ไม่จำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อ และข้อดีอย่างแรกก็คือมันสามารถทิ้งตัวลงมา จับเหยื่อจากด้านบนจึงเป็นการดีกว่าจะเข้า จู่โจมจากด้านหน้าที่อาจจะได้รับอันตราย จากการที่เหยื่อต่อสู้


 
      ปลาที่น่ากลัวที่สุดในโลก อันดับที่4 Basking Shark ยักษ์ใหญ่ผู้ใจดีแห่งท้องทะเลใหญ่ เป็นอันดับสองรองจากฉลามวาฬ

     ฉลามบาสกิ้น ความจริงยังมีฉลามอีกมากควรติดอันดับ เช่น ฉลามยักษ์เมกาโลดอน ( Megalodon Sharkหรือฉลามเมกาเมาทธ์ ( MegaMouth ) แต่ดูเหมือนว่า ฉลามบาสกิ้น จะดูโดดเด่นที่สุดในอันดับของเรา โดยฉลามชนิดนี้เป็น ยักษ์ใหญ่ผู้ใจดีแห่งท้องทะเลใหญ่ เป็นอันดับสองรองจากฉลามวาฬ ยาวประมาณ 12.27 เมตร หนักกว่า 19 ตัน มีรายงานการพบปลาขนาดใหญ่ที่นอร์เวย์วัดได้ยาว 12 เมตร มีปากขนาดใหญ่ แต่กินแพลงตอนเป็นอาหารโดยปากของมันจะเหมือนตัวกรองที่สามารถดูดน้ำเข้าปาก ได้ 2000 ตันต่อชั่วโมง

ปลาที่น่ากลัวที่สุดในโลก อันดับที่5 แฮคฟีช (hagfish)
 
    แฮคฟีช (hagfish) รูปร่างเหมือนทากหรือปลิงแต่ความจริงแล้วเป็นปลา เป็นปลา ไม่มีขากรรไกรที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยการกินปลาตาย หรือใกล้ตายรวมทั้งสัตว์ไม่ มีกระดูกสันหลังที่มีลำตัวอ่อนนุ่ม กลุ่มหนอนปล้อง มอลลัสและครัสเตเชียน ดังนั้น แฮคพีช จึงไม่เป็นปาราสิต และไม่ได้เป็นสัตว์ล่าเหยื่อ แต่ค่อนมาทางกินซากสัตว์ มากว่า แฮคฟีชมีประมาณ 32 ชนิด ชนิดที่รู้จักกันดีในอเมริกาเหนือ ในมหาสมุทร แอตแลนติก
 
 
 

ปลาที่ตัวเล็กที่สุดในโลก

 
 
 
 
 
                                       Paedocypris progenetica

   

          “Paedocypris progenetica” เป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์น่ะครับชื่อไทยไม่รู้เรียกว่าอะไร ที่ว่ามันตัวเล็กที่สุดในโลกนั้นก็เพราะว่ามันมีขนาดแค่ 7.9 มิลลิเมตรเท่านั้น ตัวโตเต็มที่น่ะครับไม่ใช่ลูกปลา แทบจะเล็กสั้นกว่าเล็บมือของคนเราเสียอีกน่ะ เจ้าปลาตัวนี้ถูกค้นพบหนองน้ำบนเกาะในอินโดนีเซีย ซึ่งมีความแปลกตรงที่หนองน้ำดังกล่าวมีลักษณะเป็นกรดสูง( ค่า pH. = 3 ซึ่งนั้นแสดงว่ามีความเเข้มข้นกว่าน้ำฝน 100 เท่า) น้ำมีลักษณะคล้ายน้ำชาสีดำเหว๋อๆ ปลามันไปอยู่ได้ยังไง

นอกจากปลาตัวที่ว่านี้จะเป็นปลาที่ตัวเล็กที่สุดในโลกแล้ว มันยังพ่วงตำแหน่งของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังที่ตัวเล็กที่สุดในโลกอีกด้วย น่ะครับ แม้ๆ มันตัวเล็กจริงๆ ต้องยอมรับในความสามารถของคนเราจริงๆ ที่สามารถไปค้นหาค้นพบมันได้ การเรียนรู้ไม่มีขีดจำกัดจริงๆ

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปลากัด

 
 
 
ปลากัด
 
 
         มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือน ปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง

มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ปลากัดเป็นปลาที่คนไทยรู้จัก เป็นอย่างดีมาแต่โบราณ โดยปลากัดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากธรรมชาติมักเรียกติดปากว่า "ปลากัดทุ่ง" หรือ "ปลากัดลูกทุ่ง" หรือ "ปลากัดป่า" จากพฤติกรรมที่ชอบกัดกันเองแบบนี้ ทำให้นิยมนำมาเลี้ยงใช้สำหรับกัดต่อสู้กันเป็นการพนันชนิด หนึ่งของคนไทย และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และความสามารถในชั้นเชิงการกัดจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยและเป็นที่รับรู้ของชาวต่างชาติในชื่อ "Siamese fighting fish"

ในปัจจุบัน ปลากัดภาคกลางได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสีสันที่สวยงามและหลากหลายขึ้น เรียกว่า "ปลากัดหม้อ" นิยมเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กและแคบ เช่น ขวดโหล, ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น อีกทั้งยังได้พัฒนาสายพันธุ์ในแง่ของความเป็นปลาสวยงามอีกหลายสายพันธุ์ เช่น "ปลากัดจีน" ที่มีเครื่องครีบยาว "ปลากัดแฟนซี" ที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม "ปลากัดคราวน์เทล" หรือ "ปลากัดฮาร์ฟมูน" เป็นต้น

ปลาที่สวยงามที่สุดในโลก

 
ปลาแมนดาริน
 
 
     ปลาแมนดาริน เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  อยู่ในวงศ์ปลามังกรน้อย  ซึ่งเป็นปลาทะเลขนาดเล็กที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาบู่  แต่มิได้อยู่ในวงศ์ปลาบู่
ปลาแมนดาริน เหตุที่ได้ชื่อนี้ก็เพราะด้วยลำตัวของที่แลดูเรียบลื่น เต็มไปด้วยเส้นสายสีเขียวทาบทับกันไปมาบนพื้นลำตัวสีส้มเป็นมัน เหมือนกับลายผ้าไหมหรือแพรชั้นดี จนดูละม้ายคล้ายคลึงกับชุดขุนนางจีนโบราณ ขณะที่ชื่อวิทยาศาสตร์นั้นก็สอดคล้องเช่นกัน โดยคำว่า "Syn" มาจากภาษากรีกโบราณหมายถึง มี และ "chiropus" มีความหมายถึง มีมือเป็นเท้า เพราะปลาชนิดนี้จะใช้ครีบท้องที่มีขนาดใหญ่คืบคลานไปมาตามท้องทะเลเพื่อหาอาหารได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กต่าง ๆ ตามพื้นทราย มากกว่าจะว่ายน้ำ และใช้ครีบหูที่ใสกระพือไปมาอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ครีบหางใช้เสมือนหางเสือบังคับทิศทาง และ "spendidus" ที่เป็นชื่อชนิดนั้น มีความหมายว่า สีสันสดใสสวยงาม
ตลอดทั้งลำตัวนั้น จะมีสีต่าง ๆ ทั้งหลายหลากสีมาก เช่น สีฟ้า, สีเขียว, สีส้ม และสีเหลือง ซึ่งเป็นสีสะท้อนแสงคล้ายกับแสงหลอดนีออน สีเหล่านี้จะปรากฏให้เห็นชัดเป็นจุดและลวดลายต่าง ๆ โค้งไปมา เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบได้ตั้งแต่ตอนใต้ของหมู่เกาะริวกิว ในประเทศญี่ปุ่น จนถึงทะเลฟิลิปปิน, ประเทศอินโดนีเซีย, หมู่เกาะไมโครนีเซีย, นิวแคลิโดเนีย จนถึงออสเตรเลีย แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย พบอาศัยในกระแสน้ำไม่แรงนักตามกองหินและแนวปะการัง ออกหากินในเวลากลางคืน เริ่มตั้งแต่พลบค่ำ ขณะที่กลางวันจะนอนพักผ่อน

มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 8 เซนติเมตร แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีขนาดเล็กกว่านี้ถึงครึ่งหนึ่ง โดยสีต่าง ๆ เหล่านี้สามารถปรับให้เข้มหรืออ่อนได้ตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ ในปลาตัวผู้สีจะเข้มขึ้นเมื่อต่อสู้กันหรืออยู่ในช่วงผสมพันธุ์ ปลาตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดย ตัวผู้จะมีครีบหลังเป็นกระโดงยาวยืดออกมา ขณะที่ตัวเมียไม่มี และตัวผู้มีส่วนหัวที่ใหญ่กว่า

ปลาแมนดารินมีอุปนิสัยก้าวร้าวพอสมควร โดยเฉพาะกับปลาชนิดเดียวกัน โดยเฉพาะตัวผู้จะมีอาณาเขตที่ชัดเจน หากพบผู้บุกรุกจะกางครีบต่าง ๆ และเบ่งสีเพื่อข่มขู่ อีกทั้งยังถือเป็นปลาที่มีพิษชนิดหนึ่ง เพราะเมือกที่ปกคลุมลำตัวนั้นมีพิษ ใช้กันสำหรับเมื่อตกเป็นอาหารของสัตว์น้ำหรือปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า

พฤติกรรมเมื่อผสมพันธุ์ จะสวยงามมาก เมื่อตัวผู้เป็นฝ่ายว่ายไปรอบ ๆ ตัวเมียเพื่อเกี้ยวพาจนแลดูเหมือนกับการเต้นรำ ซึ่งถือว่าเป็นปลาที่ปล่อยไข่ให้ลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนที่ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปผสม

ปลาสวยงาม


  

ปลาสวยงาม

     ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้  คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง

ประวัติ

ไม่มีหลักฐานใดที่ยืนยันแน่ชัดว่า มนุษย์เริ่มรู้จักเลี้ยงปลามาตั้งแต่เมื่อใด โดยนักโบราณคดีได้ค้นพบบ่อปลาที่เก่าแก่ที่สุดในยุคสุเมเรียนซึ่งมีอายุกว่า 4,500 ปีมาแล้ว และปลาชนิดแรกที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์ได้เลี้ยงคือ ปลาคาร์ป ซึ่งทั้งหมดนี้มีไว้เพื่อการบริโภค[1]
สำหรับการเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงาม ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มต้นขึ้นเมื่อใดอีกเช่นกัน ในประเทศจีนและญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทอง รวมถึงปลาคาร์ป ให้มีรูปร่างและสีสันที่สวยงามแตกต่างไปสายพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่ใน ธรรมชาติ มาแล้วไม่ต่ำกว่า 300-400 ปี โดยมีการส่งออกไปทวีปยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 และถูกส่งมาเป็นบรรณาการในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในศตวรรษที่ 19 ด้วย[2][3]